การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventive Maintenance (PM) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ เครื่องมือแพทย์ความงาม ทุกชนิด เพื่อรักษาประสิทธิภาพการทำงาน ความปลอดภัย และยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำกลุ่มเครื่องมือแพทย์ความงามหลักๆ ที่ควรได้รับการ PM อย่างสม่ำเสมอ เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่อง ให้ยาวนานยิ่งขึ้น
PM ในเครื่องมือแพทย์ความงามคืออะไร
PM ย่อมาจากคำว่า “Preventive Maintenance” ซึ่งมีความหมายว่า “การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน” ซึ่งเป็นขั้นตอนในการบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ความงาม ตามแบบแผนที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอ และตามกำหนดเวลา หรือตามการใช้งาน โดยวัตถุประสงค์ของการ PM คือการลดโอกาสที่อุปกรณ์จะเกิดการเสียหายนั่นเอง

ขั้นตอนการ PM ในเครื่องมือแพทย์
โดยตามหลักการแล้ว ก่อนที่จะทำการตรวจเช็กเครื่องมือแพทย์ ทางทีมวิศวะจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด และเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งขั้นตอนที่กล่าวมาคือ
- นัดหมายวันเข้ารับการ PM กับทางคลินิก
- เข้าตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ความงาม ตามรายการที่ระบุ
- เขียนรายละเอียดการตรวจสอบ
- ส่งรายงานตรวจสอบ พร้อมแจ้งผลให้กับทางคลินิกได้รับทราบ
- ในกรณีที่ตรวจพบว่าเครื่องมีปัญหา จะแจ้งให้กับทางคลินิกได้รับทราบ พร้อมบอกวิธีการแก้ไข
ในขั้นตอนข้างต้นนี้ เป็นเพียงมาตรการเบื้องต้นสำหรับการเข้ารับการ PM เพียงเท่านั้น ซึ่งขั้นตอนการ PM อย่างละเอียด สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ >> 5 ขั้นตอนการ Preventive Maintenance ในเครื่องมือแพทย์ความงาม
กลุ่มเครื่องมือแพทย์ความงาม ที่ควรได้รับการ PM
1. เครื่องประเภทเลเซอร์
เครื่องเลเซอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีความซับซ้อน และราคาสูง จึงจำเป็นต้องได้รับการ PM อย่างสม่ำเสมอ ปัญหาที่พบบ่อยของเครื่องประเภทเลเซอร์ คือพลังงาน (Energy: J) ลดลง ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระบบระบายความร้อนของชุดเลเซอร์ ซึ่งเมื่อระบบความร้อนทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะส่งผลให้พลังงานของเลเซอร์ที่ออกมา ลดน้อยลงไปด้วย
2. เครื่องประเภทยกกระชับ และสลายไขมัน
ครื่องมือในกลุ่มนี้ใช้เทคโนโลยีหลากหลายในการยกกระชับผิว และสลายไขมัน ซึ่งต้องการการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพ ซึ่งในเครื่องประเภทนี้จะมีอยู่ 2 เครื่องที่พบปัญหาได้ชัดเจน คือ
- เครื่อง RF : ปัญหาที่พบบ่อยในเครื่อง RF ได้แก่ ปัญหาพลังงานที่ออกมาไม่เสถียร ลดลง หรือร้อนกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ผู้ที่รับการรักษารู้สึกไม่ปลอดภัย
- เครื่อ EMT : ปัญหาที่พบบ่อยในเครื่อง EMT คือตัว Handpiece ไม่ทำงาน ซึ่งเกิดได้จากตัวส่งพลังงานซึ่งอยู่ภายในตัวเครื่องเสียหาย
3. เครื่องทรีทเมนท์
เครื่องทรีทเมนท์ในวงการความงามมีหลากหลายประเภท ซึ่งใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อปรับปรุงสภาพผิวและแก้ไขปัญหาผิวเฉพาะจุด การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) สำหรับเครื่องเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยคือ ระบบน่ำของหัว Peeling Jet อุดตัน, ปั้มน้ำไม่ดูด, หัว Cyro ไม่เย็น และหัว Lonto ช๊อต
มาตรฐานการ PM เครื่องมือแพทย์ความงาม ตามมาตรฐาน ECRI
ECRI (Emergency Care Research Institute) เป็นองค์กรอิสระไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และคุณภาพของการดูแลสุขภาพ ECRI ได้กำหนดแนวทางสำหรับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องมือแพทย์ความงามได้ดังนี้
1.การจัดลำดับความสำคัญของอุปกรณ์
- ECRI แนะนำให้จัดลำดับความสำคัญของอุปกรณ์ตามความเสี่ยง และผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
- เครื่องมือแพทย์ความงามควรได้รับการจัดลำดับความสำคัญตามความเสี่ยง และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้รับบริการ
2.ความถี่ในการทำ PM
- ECRI แนะนำให้กำหนดความถี่ในการทำ PM ตามคำแนะนำของผู้ผลิตเป็นหลัก
- หากไม่มีคำแนะนำจากผู้ผลิต ให้พิจารณาจากประสบการณ์การใช้งาน และข้อมูลการชำรุดเสียหายที่ผ่านมา
3.การทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า
- ECRI แนะนำให้ทำการทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้าตามมาตรฐาน IEC 62353 หรือ ANSI/AAMI ES1
- ควรทำการทดสอบอย่างน้อยปีละครั้งสำหรับเครื่องมือแพทย์ความงามที่ใช้ไฟฟ้า
4.การตรวจสอบประสิทธิภาพ
- ECRI เน้นย้ำความสำคัญของการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์
- สำหรับเครื่องมือแพทย์ความงาม ควรมีการทดสอบและปรับเทียบค่าต่างๆ เช่น พลังงาน ความถี่ หรือความเข้มของแสง ตามที่ผู้ผลิตกำหนด
5.การบันทึก และการติดตามผล
- ECRI แนะนำให้มีระบบการบันทึกและติดตามผลการทำ PM อย่างเป็นระบบ
- ควรเก็บประวัติการ PM ของเครื่องมือแพทย์ความงามแต่ละเครื่อง เพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม และวางแผนการบำรุงรักษาในอนาคต
6.การฝึกอบรมบุคลากร
- ECRI เน้นความสำคัญของการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานและบำรุงรักษาอุปกรณ์
- ควรจัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้งาน และการดูแลรักษาเบื้องต้นสำหรับเครื่องมือแพทย์ความงามแก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
7.การจัดการอะไหล่และวัสดุสิ้นเปลือง
- ECRI แนะนำให้มีการบริหารจัดการอะไหล่และวัสดุสิ้นเปลืองอย่างมีประสิทธิภาพ
- ควรมีการวางแผนสำรองอะไหล่ และวัสดุสิ้นเปลืองที่จำเป็นสำหรับเครื่องมือแพทย์ความงามแต่ละประเภท
8.การประเมินความคุ้มค่า
- ECRI แนะนำให้มีการประเมินความคุ้มค่าของการทำ PM เทียบกับการซ่อมแซมเมื่อเกิดปัญหา
- สำหรับเครื่องมือแพทย์ความงาม ควรพิจารณาทั้งด้านค่าใช้จ่ายและผลกระทบต่อการให้บริการ
การนำแนวทางของ ECRI มาประยุกต์ใช้กับการ PM เครื่องมือแพทย์ความงามจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงรักษา ลดความเสี่ยงจากการชำรุดเสียหาย และยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุป
การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของเครื่องมือแพทย์ความงาม กลุ่มเครื่องมือหลักที่ต้องการ PM ได้แก่ เครื่องเลเซอร์ เครื่องยกกระชับ และเครื่องทรีทเมนท์ ซึ่งการทำ PM ควรยึดตามมาตรฐาน ECRI โดยคำนึงถึงการจัดลำดับความสำคัญ ความถี่ในการทำ PM การทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพ และการฝึกอบรมบุคลากร การปฏิบัติตามแนวทางนี้จะช่วยเพิ่มคุณภาพการบริการ และยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์