เครื่องRF หรือ Radio Frequency เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการรับ ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ ซึ่งมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรม ในส่วนของเครื่องมือแพทย์ความงามนั้น เครื่อง RF จะใช้พลังงานคลื่นวิทยุเพื่อกระตุ้นการผลิตคอลลาเจน และอีลาสติน ช่วยให้ผิวกระชับ เรียบเนียน และดูอ่อนเยาว์ขึ้น แต่เนื่องจากเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมีการใช้งานอยู่บ่อยครั้ง จึงมีโอกาสที่จะเกิดความเสียหายได้เช่นกัน วันนี้ InnoService จะมาบอกอาการที่พบบ่อยในเครื่อง พร้อมสาเหตุ และวิธีแก้ไข มาให้ทุกท่านได้รับทราบกัน
4 ประเภทของเครื่อง RF
เครื่อง RF (Radio Frequency) ที่ใช้ในวงการแพทย์ความงามมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์และการใช้งานที่แตกต่างกันไป ในบทความนี้เราจะมาดูประเภทของเครื่อง RF ที่นิยมใช้กันในวงการนี้
1. Monopolar RF
ประเภทเครื่อง Monopolar RF จะใช้คลื่นความถี่วิทยุที่ส่งผ่านจากหัวส่งหนึ่งจุดไปยังจุดรับที่อยู่ห่างไกล โดยกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเนื้อเยื่อทั้งหมดเพื่อไปยังจุดรับ ทำให้เกิดความร้อนที่ลึกลงไปในชั้นผิวหนังลึกสุด เครื่องประเภทนี้มักใช้สำหรับการกระชับผิว และลดเซลลูไลท์
2. Bipolar RF
ประเภทเครื่อง Bipolar RF มีหัวส่ง และหัวรับอยู่ใกล้กัน ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเนื้อเยื่อในบริเวณที่ค่อนข้างตื้น ความร้อนที่เกิดขึ้นจะอยู่ในชั้นผิวหนังตื้น เครื่องประเภทนี้มักใช้สำหรับการยกกระชับผิวหน้า และลบริ้วรอย
3. Multipolar RF
ประเภทเครื่อง Multipolar RF ใช้หัวส่ง และหัวรับหลายจุด ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเนื้อเยื่อในบริเวณที่กว้างขึ้น ความร้อนที่เกิดขึ้นจะแผ่กระจายทั่วบริเวณ ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นในเรื่องของการกระชับผิว และการลดไขมัน
4. Fractional RF
ประเภทเครื่อง Fractional RF เป็นการรวมเทคโนโลยี RF เข้ากับการทำเลเซอร์ หรือการใช้หัวเข็ม ทำให้สามารถส่งพลังงานลงไปในชั้นผิวหนังลึกได้อย่างแม่นยำ เป็นที่นิยมใช้สำหรับการฟื้นฟูสภาพผิว รักษารอยแผลเป็น และลดเลือนริ้วรอย
อาการเสียที่เกิดขึ้นในเครื่อง RF
1.เครื่องเปิดไม่ติด
- สาเหตุ: ปัญหาเกิดจากแหล่งจ่ายไฟมีอาการฟิวส์ขาด ปุ่มเปิดปิดเสีย หรือแม้กระมั่งบอร์ดมีปัญหา
- วิธีแก้ไขเบื้องต้น: ตรวจสอบสายไฟ ลองกดปุ่มเปิดปิดหลายๆ ครั้ง
2.จอแสดงผลผิดปกติ
- สาเหตุ: สายเชื่อมต่อหลวม หรือฉีกขาด ซอฟต์แวร์มีปัญหา และสายไฟในบอร์ดเกิดการชำรุด
- วิธีแก้ไขเบื้องต้น: ตรวจสอบสายเชื่อมต่อ, ปิด-เปิดเครื่องใหม่เพื่อทดสอบระบบ
3.หัวทรีทเมนต์ไม่ทำงาน
- สาเหตุ: หัวทรีทเมนต์ชำรุด มีสิ่งสกปรกอุดตัน วงจรฉีกขาด
- วิธีแก้ไขเบื้องต้น: ตรวจสอบสายเชื่อมต่อ และทำความสะอาดหัวทรีทเมนต์
4.เครื่องทำงานไม่เสถียร
- สาเหตุ: ปัญหาอยู่ที่บอร์ดควบคุม เครื่องมีความร้อนที่สูงเกินไป หรือปัญหาระบบซอฟต์แวร์
- วิธีแก้ไขเบื้องต้น: ปิด-เปิดเครื่องใหม่, ตรวจสอบระบบระบายความร้อน หากยังไม่หาย ควรปรึกษาช่างเทคนิค
5.ไม่มีพลังงานออกมาจากหัวทรีทเมนต์
- สาเหตุ: หัวทรีทเมนต์เกิดความเสียหาย ปัญหาที่สายวงจรภายใน หรือตัวเครื่องมีปัญหาทั้งระบบ
- วิธีแก้ไขเบื้องต้น: ตรวจสอบสายเชื่อมต่อ ทดลองเปลี่ยนหัวทรีทเมนต์ เพื่อทดสอบ และหาจุบกพร่องหลัก
สาเหตุที่ทำให้เครื่อง RF เกิดการเสื่อมสภาพ
- อายุการใช้งาน: ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้น จะมีอายุการใช้งานที่ขีดจำกัดทั้งสิ้น เมื่อเครื่อง RF ถูกใช้งานเป็นระยะเวลานาน และเป็นประจำ ตัวเครื่องก็จะเริ่มเสื่อมสภาพ และเกิดความเสียหาย
- การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง: หากทางคุณหมอใช้งานเครื่อง โดยไม่เป็นไปตามที่คู่มือกำหนด หรือตามที่ทางผู้เชี่ยวชาญเครื่องมือแพทย์ด้านความงามแนะนำ เช่น ปรับค่าพลังงานสูงเกินไป ก็ทำให้เกิดโอกาสที่ตัวเครื่องจะเสียหายได้เช่นกัน
- สภาพแวดล้อม: นอกจากเรื่องของการใช้งานแล้ว สภาพแวดล้อมต่างๆ ก็มีผลต่อการทำงานของเครื่องเช่นกัน ทั้งความร้อน ความชื้น ฝุ่นละอองต่างๆ สามารถส่งผลกระทบได้ทั้งหมด
- อุบัติเหตุ: การกระแทก การตกหล่น และการกระชาก เป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้เครื่อง RF เสื่อมสภาพ ซึ่งมักจะเกิดจากการที่ผู้ใช้งาน ไม่ระมัดระวังการใช้เครื่องมากพอ ทางเราจึงอยากแนะนำให้ทุกท่านระมัดระวังมากขึ้น เพราะเครื่องมือแพทย์ความงามทุกชนิด มีความปรอบบางเป็นอย่างมาก
4 วิธีการดูแลรักษาเครื่อง RF
1.การทำความสะอาด และฆ่าเชื้อเครื่อง RF
เป็นขั้นตอนสำคัญในการดูแลรักษา ควรทำความสะอาดหัวทรีตเมนต์หลังการใช้งานทุกครั้ง โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้ผลิต และระวังอย่าให้น้ำ หรือของเหลวต่างๆ เข้าไปในตัวเครื่อง ซึ่งวิธีการทำความสะอาดที่ทางเราแนะนำ คือ
- ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำยาทำความสะอาดเฉพาะทาง
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือสารเคมีรุนแรง
- ทำความสะอาดหัว RF และสายไฟอย่างระมัดระวัง
2.การตรวจสอบ และบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
ควรมีการตรวจสอบสภาพเครื่อง RF เป็นประจำ เช่น ตรวจสอบสายไฟ หัวทรีตเมนต์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ หากพบความผิดปกติให้แจ้งช่างผู้เชี่ยวชาญทันที นอกจากนี้ควรทำการบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด วิธีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันประกอบด้วย
- ตรวจสอบสภาพของหัว RF และสายไฟ
- ทดสอบการทำงานของระบบไฟฟ้า และระบบระบายความร้อน
- เปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสื่อมสภาพตามคำแนะนำของผู้ผลิต
3.การเก็บรักษา และการขนย้าย
เมื่อไม่ได้ใช้งานแล้ว ควรเก็บเครื่อง RF ในที่แห้ง สะอาด และอุณหภูมิเหมาะสม หลีกเลี่ยงการวางในที่ชื้น หรือมีฝุ่นมาก การขนย้ายควรทำด้วยความระมัดระวัง และใช้บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ข้อควรระวังในการจัดเก็บเครื่องมือ ได้แก่
- อย่าเก็บเครื่องมือในที่ชื้นสูง
- หลีกเลี่ยงการวางเครื่องมือในที่ที่มีอุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย
- ควรใช้กล่อง หรือซองป้องกันเพื่อป้องกันการกระแทก
4.การฝึกอบรม และการใช้งานที่ถูกต้อง
การใช้งานเครื่องมือแพทย์ความงามประเภท RF โดยได้รับการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงของการเสียหาย และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อควรพิจารณาในการฝึกอบรม และการใช้งานได้แก่
- ฝึกอบรมการใช้งานเครื่องมืออย่างถูกวิธี
- การปฏิบัติตามคำแนะนำ และคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต
- ตรวจสอบ และปรับการใช้งานตามสภาพของผู้ป่วย และเครื่องมือ
หมายเหตุ: การแก้ไขปัญหาเครื่องมือแพทย์ความงาม RF จำเป็นต้องอาศัยความรู้ และประสบการณ์เฉพาะทาง หากคุณพบปัญหาใดๆ ควรปรึกษาช่างเทคนิคที่ได้รับการรับรองเพื่อทำการตรวจสอบ และซ่อมแซม
สรุป
การป้องกัน และรักษาเครื่องมือแพทย์ความงามประเภท RF เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้เครื่องมือสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งาน การทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การจัดเก็บที่เหมาะสม และการฝึกอบรมการใช้งานที่ถูกต้อง เป็นแนวทางที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลรักษาเครื่องมือแพทย์ความงามประเภท RF ได้อย่างมีประสิทธิภาพ