3 รูปแบบ การซ่อมเครื่องมือแพทย์ ตามมาตรฐานสากล

เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีบทบาทสำคัญในการวินิจฉัย รักษา และดูแลผู้ป่วย ซึ่งการทำงานที่ถูกต้อง

เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีบทบาทสำคัญในการวินิจฉัย รักษา และดูแลผู้ป่วย ซึ่งการทำงานที่ถูกต้อง และปลอดภัยของเครื่องมือแพทย์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและ การซ่อมเครื่องมือแพทย์ อย่างถูกวิธี จะช่วยยืดอายุการใช้งาน รักษาประสิทธิภาพการทำงาน และป้องกันอันตรายต่อผู้ป่วย ซึ่งในบทความนี้ เราจะมุ่งเน้นไปที่ประเภทของการซ่อมเครื่องมือแพทย์ โดยข้อมูลนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาเครื่องมือแพทย์ รวมไปถึงผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการซ่อมแซมเครื่องมือแพทย์อีกด้วย

การซ่อมเครื่องมือแพทย์ คืออะไร

การซ่อมเครื่องมือแพทย์ หมายถึง การแก้ไขความเสียหาย หรืออาการชำรุดของเครื่องมือแพทย์ เพื่อให้เครื่องมือสามารถกลับมาทำงานได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด การซ่อมเครื่องมือแพทย์เป็นงานที่สำคัญ เพราะเครื่องมือแพทย์ถูกใช้ในการวินิจฉัย รักษา และดูแลผู้ป่วย หากเครื่องมือแพทย์ทำงานไม่ถูกต้อง อาจส่งผลร้ายแรงต่อผู้ป่วยได้

3 ประเภท ของงานซ่อมเครื่องมือแพทย์

1.งานซ่อมแซมทั่วๆ ไป (Minor Repair)

งานซ่อมแซมทั่วๆ ไป เป็นการซ่อมแซมที่ไม่มีอะไรซับซ้อน ในบางครั้งก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องถอดชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์ของเครื่องมือแพทย์ออกมา และที่สำคัญที่สุดคือ คุณหมอ หรือเจ้าของคลินิก สามารถทำเองได้ โดยไม่ต้องเรียกทีมวิศวะเข้ามาตรวจสอบ ตัวอย่างของการซ่อมแซมทั่วๆ ไป ได้แก่

  • การทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์: เป็นวิธีการรักษาตัวเครื่องมือแพทย์ ที่ง่ายที่สุด เพียงใช้ผ้าสะอาด เช็ดทำความสะอาดให้ทั่วตัวเครื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่น เข้าไปอุดตัน
  • เปลี่ยนอะไหล่บางชิ้น: สำหรับกรณีที่อะไหล่มีการชำรุด และอะไหล่เหล่านั้นเป็นชิ้นส่วนที่เปลี่ยนถ่ายได้ง่าย สามารถทำเองได้ เช่น แบตเตอรี่ น้ำกลั่น สายไฟ เป็นต้น
  • ปรับแต่งการตั้งค่าของเครื่องมือแพทย์: การตั้งค่าระบบของเครื่องมือแพทย์ ก่อนนำมาใช้งานจริง ก็เป็นอีกหนึ่งในวิธีการซ่อมเครื่อง เพื่อให้ตัวเครื่องมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความแม่นยำในการรักษา ลดโอกาสที่จะทำการรักษาเพิ่มมากขึ้น

2.งานซ่อมแซมระดับปานกลาง (Medium Repair)

งานซ่อมแซมระดับปานกลาง เป็นการซ่อมแซมที่ซับซ้อนกว่าการซ่อมแซมทั่วๆ ไป เล็กน้อย  ซึ่งในระดับนี้ จำเป็นต้องถอดชิ้นส่วนภายในของเครื่องมือแพทย์ออก เพื่อให้ทางทีมวิศวะผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาตรวจสอบการทำงาน ให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยตัวอย่างของงานซ่อมแซมระดับปานกลาง ได้แก่

  • เปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องที่ชำรุด: การตรวจเช็กโดยระเอียด คือการตรวจเช็กจากภายใน โดยส่วนประกอบที่จะถูกตรวจเช็ก ได้แก่ แผงวงจร มอเตอร์ เป็นต้น ซึ่งส่วนประกอบ
  • ซ่อมแซมระบบไฟฟ้า: หากจะอธิบายให้เห็นภาพชัดๆ การซ่อมแซมระบบไฟฟ้า ก็คืออการวัดค่าพลังงาน และการหาจุดที่เกิดการรั่วไหลของไฟฟ้า ซึ่งในการซ่อมส่วนนี้ จะช่วยลดโอกาสเกิดอันตรายระหว่างใช้งานเครื่องได้
  • ปรับแต่งกลไกของเครื่องมือแพทย์: ในงานซ่อมนี้ จะค่อนข้างเฉพาะเจาะจง และละเอียดอ่อน เพราะการปรับแต่งกลไก ไม่ใช่งานซ่อมที่จะทำได้ทันที ขั้นตอนนี้ต้องผ่านการวิเคราะห์ และความสมัครใจของทางคุณหมอ จะไม่มีการปรับแต่งโดยพลการ

3.งานซ่อมแซมใหญ่ (Major Repair)

งานซ่อมแซมใหญ่ เป็นการซ่อมแซมที่ซับซ้อนที่สุด จำเป็นต้องถอดชิ้นส่วนของเครื่องมือแพทย์ออกทั้งหมด หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนหลักของเครื่องมือแพทย์โดยสิ้นเชิง การซ่อมแซมรูปแบบนี้ จะใช้ในกรณีที่ตัวเครื่อง เกิดความเสียหายร้ายแรงที่สุด ตัวอย่างของงานซ่อมแซมใหญ่ ได้แก่

  • เปลี่ยนโครงสร้างของเครื่องมือแพทย์:  การเปลี่ยนโครงสร้าง คือการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่าง เช่น วัสดุ วิธีการผลิต หรือคุณสมบัติอื่นๆ ของเครื่องมือแพทย์ ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องยื่นเอกสารขออนุญาต
  • อัปเกรดระบบของเครื่องมือแพทย์: การอัพเกรดระบบ คือการปรับปรุงประสิทธิภาพ ความปลอดภัย หรือฟังก์ชันการทำงานของเครื่องมือแพทย์ที่มีอยู่ โดยไม่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างของเครื่องมือแพทย์นั้นๆ

6 กระบวนการซ่อมเครื่องมือแพทย์

1.การวินิจฉัยปัญหา

ช่างเทคนิค หรือทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ จะเดินทางไปยังสถานพยาบาล หรือคลินิกต่างๆ เพื่อเข้าทำการตรวจสอบเครื่องมือแพทย์ และวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา โดยจะทำการทดสอบจุดบกพร่อง พร้อมเปิดระบบการทำงานทั้งหมดของเครื่องมือแพทย์ เพื่อหาข้อผิดพลาดในเบื้องต้น 

2.การประเมินความเสียหาย

ช่างเทคนิค หรือทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ จะประเมินความรุนแรงของปัญหา หาต้นเหตุของอาการ และประเมินค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม เพื่อให้ทางคุณหมอได้พิจารณา และตัดสินใจว่าความเสียครั้งนี้ จะทำการซ่อมแซม หรือเปลี่ยนถ่ายอะไหล่ รูปแบบไหนจะคุ้มค่า คุ้มเวลามากกว่ากัน

3.การสั่งอะไหล่

ในกรณีที่ชิ้นส่วนของเครื่องมือแพทย์เกิดการชำรุด หรือเสียหาย จนไม่สามารถแก้ไข หรือซ่อมแซมให้กลับมามีประสิทธิภาพตามเดิมได้ ทางทีมวิศวะจะทำการสั่งอะไหล่ที่จำเป็น ในการซ่อมแซมเฉพาะจุด เพื่อให้ตัวเครื่องทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และป้องกันการเสียหายซ้ำ จากการใช้อะไหล่เดิม

4.การซ่อมแซม

เป็นกระบวนการลงมือปฎิบัติการซ่อมของทีมวิศวกร หลังจากพิจารณาแล้วว่า การแก้ไขอาการแบบไหนจะได้ผลที่ดีที่สุด รวมถึงได้รับความเห็นชอบจากสถานพยาบาล หรือคุณหมอเรียบนร้อยแล้ว ระยะเวลาการซ่อมแซม จะขึ้นอยู่กับอาการของเครื่องมือแพทย์ โดยปกติจะใช้เวลาขั้นต่ำอยู่ที่ 1 ชั่วโมงขึ้นไป

5.การทดสอบ

เมื่อทำการซ่อมแซมเครื่องมือแพทย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทีมวิศวะผู้เชี่ยวชาญ จะทำการเปิดเครื่องทดสอบการทำงานอีกครั้ง เพื่อทำการประเมินงานซ่อมว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ และเป็นการทดสอบปัญหา ว่าหลังซ่อมเสร็จแล้ว ยังมีปัญหาการทำงานเช่นเดิมหรือไม่ รวมถึงหาจุดบกพร่องอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น ในจุดที่ไม่เคยมีปัญหามาก่อน

6.การส่งมอบ

เมื่อตัวเครื่องมือแพทย์กลับมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทางทีมวิศวะจะทำการส่งเครื่องมือแพทย์ คืนให้กับกับคุณหมอ หรือสถานพยาบาล เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบเครื่องครั้งสุดท้าย หากยังพบปัญหาอีก ก็จะให้ทีมวิศวะซ่อมอีกครั้ง โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ  และเมื่อตรวจสอบเรียบร้อย ก็ทำการส่งมอบ เป็นการเสร็จภารกิจ

InnoSevice Center บริการซ่อมเครื่องมือแพทย์ความงาม 

ทาง InnoService Center มีขั้นตอนการให้บริการซ่อมเครื่องมือแพทย์ความงามอย่างเป็นระบบ เราให้บริการซ่อมทุกรูปแบบตั้งแต่ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงการเปลี่ยนโครงสร้างเครื่อง และเรายังติดตามวัดผลงานซ่อมจนกว่าลูกค้าจะมั่นใจว่าเครื่องมือแพทย์ของคุณนั้น จะไม่มีปัญหาในภายหลัง บริการซ่อมของเราเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยทีมวิศวะได้รับการอบรมจากบริษัทเครื่องมือแพทย์ความงาม จากประเทศเกาหลี

สรุป

ประเภทของการซ่อมแซมเครื่องมือแพทย์นั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเครื่องที่เกิดขึ้น ช่างเทคนิค หรือทีมวิศวกรมืออาชีพที่จะทำการซ่อมแซมเครื่อง จะต้องมีทักษะ และประสบการณ์ที่เหมาะสม เครื่องมือต่างๆ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซม จะต้องเหมาะสมกับประเภทของงานซ่อมแซมนั้นๆ การซ่อมแซมเครื่องมือแพทย์อย่างถูกวิธี จะช่วยให้เครื่องมือแพทย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และยืดอายุการใช้งาน โรงพยาบาล และคลินิกควรมีแผนการซ่อมแซมเครื่องมือแพทย์ที่เหมาะสม และเลือกช่างเทคนิค หรือทีมวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญในการซ่อมแซมเครื่องมือแพทย์ประเภทต่างๆ

เรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม